การปกครองสมัยสุโขทัย
อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือ สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์ อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่ง
กรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติดต่อ กันมาอีก
2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ ในปีพ.ศ.1981
ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย
เป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรหรือการปกครองคนในครอบครัว (Paternalism) คือพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อ ข้าราชการบริพารเปรียบเสมือนลูกหรือคนในครอบครัวทำการปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับ
พระเจ้าแผ่นดินสมัยสุโขทัยตอนต้น
ประชาชนมักใช้คำแทนตัวท่านว่าพ่อขุนจนเมื่ออิทธิพลของขอมเข้ามาแทรกแซงก็ได้เปลี่ยนไปใช้คำว่าพระยา ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริย์ ซึ่งเดิมเปรียบเสมือนพ่อกับลูกได้กลายสภาพเป็นข้ากับเจ้า บ่าวกับนายไป พระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ราษฎรเสมือนบุตร
ลักษณะการปกครองแบ่งออก เป็น 3 ส่วน
1.) เมืองหลวง - สุโขทัย
2.) หัวเมืองชั้นใน - ทิศเหนือ เมืองศรีสัชชนาลัย(สวรรคโลก)
ทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร )
ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร
3.) หัวเมืองชั้นนอก ( เมืองพระยามหานคร) ได้แก่ เมืองหล่ม เมืองเพชรบูรณ์ เมืองศรีเทพ เมืองแพรก(สรรค์บุรี) เมืองสุพรรณบุรี(อู่ทอง) เมืองราชบุรี เมืองเพชรบูรณ์ เมืองตะนาวศรี
นอกจากนี้ ยังมีเมืองประเทศราช ได้แก่
ทิศตะวันออก - เมืองน่าน เมืองเซ่า(เมืองหลวงพระบาง) เวียงจันทร์ เวียงคำ
ทิศใต้ - เมืองนครศรีธรรมราช เมืองมะละกา และเมืองยะโฮร์
ทิศตะวันตก - เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี
กรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติดต่อ กันมาอีก
2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ ในปีพ.ศ.1981
ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย
เป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรหรือการปกครองคนในครอบครัว (Paternalism) คือพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อ ข้าราชการบริพารเปรียบเสมือนลูกหรือคนในครอบครัวทำการปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับ
พระเจ้าแผ่นดินสมัยสุโขทัยตอนต้น
ประชาชนมักใช้คำแทนตัวท่านว่าพ่อขุนจนเมื่ออิทธิพลของขอมเข้ามาแทรกแซงก็ได้เปลี่ยนไปใช้คำว่าพระยา ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริย์ ซึ่งเดิมเปรียบเสมือนพ่อกับลูกได้กลายสภาพเป็นข้ากับเจ้า บ่าวกับนายไป พระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ราษฎรเสมือนบุตร
ลักษณะการปกครองแบ่งออก เป็น 3 ส่วน
1.) เมืองหลวง - สุโขทัย
2.) หัวเมืองชั้นใน - ทิศเหนือ เมืองศรีสัชชนาลัย(สวรรคโลก)
ทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร )
ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร
3.) หัวเมืองชั้นนอก ( เมืองพระยามหานคร) ได้แก่ เมืองหล่ม เมืองเพชรบูรณ์ เมืองศรีเทพ เมืองแพรก(สรรค์บุรี) เมืองสุพรรณบุรี(อู่ทอง) เมืองราชบุรี เมืองเพชรบูรณ์ เมืองตะนาวศรี
นอกจากนี้ ยังมีเมืองประเทศราช ได้แก่
ทิศตะวันออก - เมืองน่าน เมืองเซ่า(เมืองหลวงพระบาง) เวียงจันทร์ เวียงคำ
ทิศใต้ - เมืองนครศรีธรรมราช เมืองมะละกา และเมืองยะโฮร์
ทิศตะวันตก - เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น