การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5
(พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองในด้านระเบียบการบริหารและวิธีปฏิบัติการต่าง ๆ ครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเรียกกันว่า “การปฏิรูปการปกครอง” สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 อันมีมูลเหตุเนื่องมาจากอิทธิพลการปกครองของชาติตะวันตก และประสบการณ์ของพระองค์ในต่างประเทศ ทำให้เกิดแนวคิดที่จะนำเอาสิ่งที่ดีมาปรับปรุงการปกครองประเทศตามแนวที่ชาติตะวันตกยอมรับ การวางแนวคิดให้เกิดรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย พระองค์จึงตัดสินพระทัยปฏิรูปการปกครองเพื่อการนี้และเพื่อการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่ ทั้งภายในและภายนอก หลายด้าน อาทิ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับเอกภาพของประเทศ ความล้าหลังทางสังคมและเศรษฐกิจ ฯลฯ สาระสำคัญของการปรับปรุงได้แก่การยกเลิกการบริหารราชการแบบจตุสดมภ์เสีย แล้วจัดระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยแยกออกเป็นส่วนกลางและส่วนภูมิภาค นอกจากนี้ยังได้มีการริเริ่มส่วนท้องถิ่นในรูปของการสุขาภิบาล เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ราษฎรมีส่วนรับผิดชอบหรือมีส่วนร่วมในการปกครองแผ่นดิน ส่วนอำนาจในการบริหาร เป็นไปในลักษณะกระจายอำนาจ พระองค์ทรงปรับปรุงการศึกษา และสิทธิของประชาชนให้เป็นเครื่องส่งเสริมการปฏิรูปการปกครอง ด้านสิทธิของประชาชนนั้นเป็นการปรับปรุงอันเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ได้ทำการเลิกทาส การเลิกทาสดังกล่าวเป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นนักประชาธิปไตยของพระองค์ และเรื่องสิทธิของประชาชนเป็นหลักการสำคัญยิ่งของการปกครองระบอบประชาธิปไตยการปฏิรูปการปกครองที่สำคัญ ได้แก่1)การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ให้ยกเลิกตำแหน่งสมุหกลาโหม สมุหนายก และจตุสดมภ์แล้วแบ่งส่วนราชการเป็น 12 กระทรวง มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าราชการกระทรวง แต่ละกระทรวงมีหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นสัดส่วนแน่นอน ไม่ก้าวก่ายกันเหมือนแต่ก่อน เช่นกระทรวงมหาดไทยดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาว กระทรวงกลาโหมดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ตะวันออกแหลมมะลายูกระทรวงการต่างประเทศดูแลในเรื่องความสัมพันธ์กับต่างประเทศ กระทรวงนครบาล รับผิดชอบด้านความสงบเรียบร้อยภายในเมืองหลวงกระทรวงพระคลังมหาสมบัติดูแลในการจัดเก็บภาษี และหาเงินเข้าท้องพระคลังเป็นต้น2)การจัดการปกครองส่วนภูมิภาค ยกเลิกระบบเมืองเอก โท ตรี แต่ให้รวมหัวเมืองภาคเหนือ ภาคใต้และเมืองท่าตั้งเป็น “มณฑล”ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยมีสมุหเทศาภิบาล หรือข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองมณฑล แต่ละมณฑลประกอบด้วยเมือง มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ปกครอง แต่ละเมืองยังแบ่งเป็นอำเภอมีนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง แต่ละอำเภอแบ่งเป็นตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้านกำนันและผู้ใหญ่บ้านที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ปกครองตำบลและหมู่บ้าน 3)การปกครองส่วนท้องถิ่น รัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นประโยชน์ที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง จึงโปรดเกล้าฯให้จัดตั้ง “สุขาภิบาล” ซึ่งลักษณะคล้ายเทศบาลในปัจจุบัน สุขาภิบาลแห่งแรกคือสุขาภิบาลกรุงเทพฯ และสุขาภิบาลท่าฉลอม (จังหวัดสมุทรสาคร) เป็นสุขาภิบาลหัวเมือง เป็นการทดลองรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งปรากฎว่าการดำเนินงานของสุขาภิบาลทั้ง 2 แห่งได้ผลดียิ่ง จึงได้ตราเป็นพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2458 แบ่งสุขาภิบาลเป็น 2 แบบ คือ สุขาภิบาลเมือง และตำบล เพื่อขยายกิจการสุขาภิบาล ให้แพร่หลายไปยังท้องถิ่นอื่น ๆการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นการวางรากฐานการปกครองในสมัยต่อมา มีการแก้ไขปรับปรุงบางส่วนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ทำให้ประเทศมีระบบการบริหารที่ทันสมัย มีเอกภาพและมั่นคง
(พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองในด้านระเบียบการบริหารและวิธีปฏิบัติการต่าง ๆ ครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเรียกกันว่า “การปฏิรูปการปกครอง” สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 อันมีมูลเหตุเนื่องมาจากอิทธิพลการปกครองของชาติตะวันตก และประสบการณ์ของพระองค์ในต่างประเทศ ทำให้เกิดแนวคิดที่จะนำเอาสิ่งที่ดีมาปรับปรุงการปกครองประเทศตามแนวที่ชาติตะวันตกยอมรับ การวางแนวคิดให้เกิดรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย พระองค์จึงตัดสินพระทัยปฏิรูปการปกครองเพื่อการนี้และเพื่อการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่ ทั้งภายในและภายนอก หลายด้าน อาทิ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับเอกภาพของประเทศ ความล้าหลังทางสังคมและเศรษฐกิจ ฯลฯ สาระสำคัญของการปรับปรุงได้แก่การยกเลิกการบริหารราชการแบบจตุสดมภ์เสีย แล้วจัดระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยแยกออกเป็นส่วนกลางและส่วนภูมิภาค นอกจากนี้ยังได้มีการริเริ่มส่วนท้องถิ่นในรูปของการสุขาภิบาล เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ราษฎรมีส่วนรับผิดชอบหรือมีส่วนร่วมในการปกครองแผ่นดิน ส่วนอำนาจในการบริหาร เป็นไปในลักษณะกระจายอำนาจ พระองค์ทรงปรับปรุงการศึกษา และสิทธิของประชาชนให้เป็นเครื่องส่งเสริมการปฏิรูปการปกครอง ด้านสิทธิของประชาชนนั้นเป็นการปรับปรุงอันเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ได้ทำการเลิกทาส การเลิกทาสดังกล่าวเป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นนักประชาธิปไตยของพระองค์ และเรื่องสิทธิของประชาชนเป็นหลักการสำคัญยิ่งของการปกครองระบอบประชาธิปไตยการปฏิรูปการปกครองที่สำคัญ ได้แก่1)การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ให้ยกเลิกตำแหน่งสมุหกลาโหม สมุหนายก และจตุสดมภ์แล้วแบ่งส่วนราชการเป็น 12 กระทรวง มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าราชการกระทรวง แต่ละกระทรวงมีหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นสัดส่วนแน่นอน ไม่ก้าวก่ายกันเหมือนแต่ก่อน เช่นกระทรวงมหาดไทยดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาว กระทรวงกลาโหมดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ตะวันออกแหลมมะลายูกระทรวงการต่างประเทศดูแลในเรื่องความสัมพันธ์กับต่างประเทศ กระทรวงนครบาล รับผิดชอบด้านความสงบเรียบร้อยภายในเมืองหลวงกระทรวงพระคลังมหาสมบัติดูแลในการจัดเก็บภาษี และหาเงินเข้าท้องพระคลังเป็นต้น2)การจัดการปกครองส่วนภูมิภาค ยกเลิกระบบเมืองเอก โท ตรี แต่ให้รวมหัวเมืองภาคเหนือ ภาคใต้และเมืองท่าตั้งเป็น “มณฑล”ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยมีสมุหเทศาภิบาล หรือข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองมณฑล แต่ละมณฑลประกอบด้วยเมือง มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ปกครอง แต่ละเมืองยังแบ่งเป็นอำเภอมีนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง แต่ละอำเภอแบ่งเป็นตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้านกำนันและผู้ใหญ่บ้านที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ปกครองตำบลและหมู่บ้าน 3)การปกครองส่วนท้องถิ่น รัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นประโยชน์ที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง จึงโปรดเกล้าฯให้จัดตั้ง “สุขาภิบาล” ซึ่งลักษณะคล้ายเทศบาลในปัจจุบัน สุขาภิบาลแห่งแรกคือสุขาภิบาลกรุงเทพฯ และสุขาภิบาลท่าฉลอม (จังหวัดสมุทรสาคร) เป็นสุขาภิบาลหัวเมือง เป็นการทดลองรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งปรากฎว่าการดำเนินงานของสุขาภิบาลทั้ง 2 แห่งได้ผลดียิ่ง จึงได้ตราเป็นพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2458 แบ่งสุขาภิบาลเป็น 2 แบบ คือ สุขาภิบาลเมือง และตำบล เพื่อขยายกิจการสุขาภิบาล ให้แพร่หลายไปยังท้องถิ่นอื่น ๆการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นการวางรากฐานการปกครองในสมัยต่อมา มีการแก้ไขปรับปรุงบางส่วนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ทำให้ประเทศมีระบบการบริหารที่ทันสมัย มีเอกภาพและมั่นคง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น